8 อย่างที่ยิ่งทำให้ทุเรียนแย่ลง (ทำแล้วไม่เกิดผลดี)

8 อย่างที่ยิ่งทำให้ทุเรียนแย่ลง (ทำแล้วไม่เกิดผลดี)
มีอะไรบ้าง จะได้ปรับวิธีการทำซะเลย
ก่อนที่จะสายเกินไป มาอ่านกันเลย

รวบรวมจากคำถาม รูปภาพต่างๆ
จากทางบ้านที่ส่งมาปรึกษากับทางมีเฮ
จะได้รู้กันว่าเพราะอะไรทุเรียนที่เราปลูกมันถึงมีปัญหา
ปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วไม่โต ใบเหลือง มาดูสาเหตุกัน

1.ให้น้ำอย่างพอดี ไม่ให้น้ำมากจนเกินไป
ทุเรียนต้องการน้ำก็จริง แต่ไม่ต้องการน้ำแฉะตลอดเวลา
ซึ่งจะนำมาสู่การเป็นโรคเชื้อรา หนักเข้าก็รากเน่าโคนเน่า
โดยมักแสดงอาการใบเหลือง ทิ้งใบ มีรอยไหม้ที่ใบ
ควรให้น้ำกับทุเรียนและเว้นให้มีเวลาที่ดินแห้งบ้าง
(ไม่ควรทำระบบน้ำหยด ให้ใช้ระบบสปริงเกอร์)

2.ไม่ควรปลูกทุเรียนบนที่นาโดยไม่ปรับพื้นดินเลย
ที่นาเป็นที่ดินต่ำกว่าทั่วไปและมักอยู่เสมอระดับน้ำใต้ดิน
ทำให้ดินแฉะน้ำตลอดเวลา ควรจะถมที่ดินให้สูงขึ้นมาก่อนปลูก
อย่างที่บอกไว้ในข้อ 1 ว่าทุเรียนไม่ชอบน้ำแฉะตลอดเวลา

3.ปลูกทุเรียนแล้วไม่ควรพรวนดินให้อีกหลังลงปลูกแล้ว
ไม้ยืนต้นมีรากหน้าดินในปริมาณมากเสมือนเครือข่ายดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ
หากเราไปพรวนดินให้ก็จะเกี่ยวให้รากของต้นทุเรียนขาด
บางคนอาจจะบอกว่าเดี๋ยวรากก็งอกขึ้นมาใหม่เอง
แต่อย่าลืมไปว่าการที่รากงอกใหม่ก็ต้องใช้ธาตุอาหารที่หามาได้ไปซ่อมแซม
แทนที่จะได้เติบโตก็ต้องมาคอยซ่อมรากตัวเองอยู่เรื่อยๆ แบบนี้ไม่ไหวแน่

4.หลีกเลี่ยงการเดินเข้าไปย่ำในแปลง หลังฝนตกหนักใหม่ๆ
รากของทุเรียนเป็นรากที่ต้องการถ่ายเทของอากาศที่ดี
หลังจากที่ฝนตกหนัก หรือน้ำขังแฉะเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เราไม่ควรเดินเข้าไปย่ำบริเวณโคนทุเรียนหลังจากนั้น
ปล่อยให้ดินแห้งลงสักหน่อย เพราะจะทำให้เกิดใบไหม้ได้
เนื่องจากการเหยียบดินเวลาที่ดินแฉะจะทำให้ดินอัดแน่น รากเสียหายได้

5.ไม่เปลือยหน้าดิน ไม่ฆ่าหญ้า
ปล่อยหญ้าและตัดหญ้าเท่านั้น
การเปลือยหน้าดินทำให้แดดเผาดินจนร้อน
ความร้อนจะส่งลงไปทำให้รากฝอยหน้าดินเสียหาย
ไว้หญ้าเพื่อลดอุณหภูมิหน้าดินลง และช่วยรักษาระบบนิเวศในแปลงด้วย

6.ไม่เอาดินไปถมที่โคนให้สูงขึ้นอีกหลังจากลงปลูกแล้ว
เมื่อลงปลูกแล้วทุเรียนจะมีระดับของรากฝอยหน้าดิน
หากนำดินมาถมหลังจากที่ลงปลูกแล้วจะทำให้รากอยู่ลึก
ทำให้การถ่ายเทอากาศไม่สะดวกนัก ก็จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบรากอีก

7.ไม่ใส่ปุ๋ยและยาทุกชนิดลงในหลุมก่อนลงต้นกล้า
ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบรากและเกิดอาการนั่งแท่น
คือเรียกว่าต้นไม่โตกลายเป็นต้นแคระแกรนนั่นเอง
หากต้องการใส่ปุ๋ยให้โรยบนหน้าดินหลังลงปลูกเท่านั้น

8.ใส่ปุ๋ยให้อย่างพอดี ไม่ใส่มากจนเกินไป
การให้ปุ๋ยมากเกินความจำเป็นอาจทำให้ต้นน็อคปุ๋ยได้
และปุ๋ยที่มากเกินไปนี้จะตกค้างและกลายเป็นอาหารของเชื้อราได้
ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ต้นทุเรียนเป็นโรคเชื้อราต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

เราควรเข้าใจธรรมชาติของพืชแต่ละชนิด
และปรับวิธีการทำสวนให้เหมาะสมกับพืชที่เราปลูกเสมอ
ทุเรียนที่ใครๆ ว่าปลูกยาก หากเข้าใจว่าธรรมชาติของเค้าเป็นอย่างไร
เราก็จะปรับวิธีการของเราให้สอดคล้องได้ เพื่อส่งเสริมให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

*ทุเรียนในภาพ ให้มีเฮ 2 สูตร
1.มีเฮ สูตรเข้มข้นพิเศษ
2.มีเฮ สูตรป้องกันและรักษาโรคเชื้อราในพืช
ผสมมีเฮ สูตรละ 1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร
ฉีดพ่นใบ ต้น ดิน ทุกๆ 10-15 วัน
รดน้ำก่อนฉีด หรือถ้าฝนตกดินเปียกอยู่แล้วก็ฉีดได้เลย
*ต้องการให้มีเฮกับทุเรียนปลูกใหม่ในสวน ก็ทักอินบ็อกซ์มาได้เลยครับ

เบียร์ มีเฮ

แค่เปลี่ยน วิธีการ 》》》ผลลัพธ์ก็เปลี่ยนไป
มีเฮต้องการช่วยเกษตรกรไทย มั่งคั่งอย่างยั่งยืน
++++++++++++++++++++++++++++++++
ลงทุนนำมีเฮไปใช้สร้างกำไรให้สวนของท่าน
เว็บไซต์ : www.meehaythai.com
inbox : m.me/meehaythai
Line id : Meehaythai
Line official : @Meehay http://line.me/ti/p/%40meehay
โทร 062-3462449 094-4054696

++ คำบอกต่อจากพี่น้องชาวมีเฮ ++

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *